Denied Boardings Data and Visualization

TITIPATA bio photo

By TITIPATA

ชอบฟังเพลงอินดี้และอัลเทอร์เนทีฟ เวลาว่างชอบเขียนโปรแกรมและเล่นเกม

Email Twitter Google+ Github

Reading time ~10 minutes

TITIPATA bio photo

By TITIPATA

ชอบฟังเพลงอินดี้และอัลเทอร์เนทีฟ เวลาว่างชอบเขียนโปรแกรมและเล่นเกม

Email Twitter Google+ Github

โฆษณาเล็กน้อยก่อนเริ่มโพสต์

พวกเรา tupleblog team กำลังจะจัด Python/R Data Science Meetup ที่ Hangar, Incubator space ของ DTAC กันในต้นเดือนสิงหาคมนี้ (ประมาณ​ 3 เดือนเท่านั้น)! ตอนนี้เราได้พี่ต้า อดีต data scientist ที่ Facebook และเจ้าของโพสต์ “ส่องข้อมูลการปฏิเสธการขึ้นเครื่อง (Denied Boardings) ในอเมริกา” ที่เราจะมาลองเขียนพล็อตของเค้าตามกันในโพสต์นี้มาเป็น keynote speaker ในงานด้วย น่าตื่นเต้นมากๆ

นอกจากพี่ต้าแล้วก็ยังมี speakers เจ๋งๆอีกหลายคน ไว้คอยติดตามกันต่อไป เราจะค่อยๆออกมา ส่วนรายละเอียดของงานกับการรับสมัครเราจะมาบอกกันอีกทีในอีกเดือนข้างหน้า คอยติดตามกันเร็วๆนี้นะ

ไม่ได้มีแค่ speaker เท่านั้น เรายังมีหนังสือจาก O’Reilly พร้อมลายเซ็นต์ของผู้เขียนสองเล่ม ได้แก่ Python Data Science Handbook ของ Jake VanderPlas และ Data Science from Scratch: First Principles with Python ของ Joel Grus ที่จะสุ่มแจกให้คนที่มาร่วม Meetup ครั้งแรกอีกด้วย!

เท่านี้แหละ พูดให้ตื่นเต้นกันไว้ก่อน รายละเอียดจะมาบอกกันในไม่ช้า ฝากติดตามและแชร์ฮะ ตอนนี้เราไปเริ่มเขียนโค้ดกันก่อนแล้วกัน

เกริ่นนำ

สำหรับโพสต์นี้เราจะมาว่ากันด้วยการพล็อตเป็นหลัก เนื่องจากคราวที่แล้วอาจจะใส่เนื้อหาเยอะไปหน่อย เราเลือกที่จะพล็อตกันแบบ interactive โดยใช้ไลบรารี่จาก Python ที่ชื่อว่า Bokeh กัน (คล้ายกับ matplotlib ไลบรารี่)

ตัวอย่างของ data ที่จะใช้วันนี้เป็น data ของผู้โดยสารที่ขึ้นสายการบินต่างๆในอเมริกา อย่างที่รู้กันจากข่าวใหญ่ไม่นานมานี้ ที่ผู้โดยสารสายการบิน United โดนลากออกมาจากเครื่องบินหลังจาก board ไปแล้ว เราจะมาดูกันว่าอัตราการโดนไล่ลงจากเครื่องหรือห้ามขึ้นเครื่องนั้นสูงแค่ไหนสำหรับแต่ละสายการบิน

เราจะมาพล็อตข้อมูลเหล่านี้โดยใช้ไลบรารี่ Bokeh ตามโพสต์ต้นฉบับของพี่ต้ากัน โพสต์ต้นฉบับสามารถไปตามอ่านกันได้เลยที่นี่

ในโพสต์ของพี่ต้าค่อนข้างอธิบายรายละเอียดเกือบทั้งหมดแล้วเกี่ยวกับหน้าตาของข้อมูล ความต่างนิดเดียวคือ analysis ใช้ R เป็นหลัก เราจะไม่อธิบายรายละเอียดมากในที่นี้ แต่จะเน้นทักษะเบื้องต้นของการ clean data และพล็อตเป็นหลักนะ

  • ข้อมูลในหลักที่ 3 คือจำนวนผู้โดยสารที่โดนไล่ลงจากเครื่องทั้งหมด
  • ข้อมูลในหลักที่ 4 คือจำนวนผู้โดยสารที่โดนไล่ลงจากเครื่องและได้รับเงินคืน
  • ข้อมูลในหลักที่ 7 คือจำนวนผู้โดยสารที่ขึ้นเครื่องทั้งหมด

โหลดข้อมูล

ก่อนอื่นต้องเกริ่นว่า code ที่ใช้ในการเก็บ data และการสร้างพล็อตทั้งหมดอยู่บน Github repository ซึ่งใช้ชื่อว่า tupleblog/tuple_code ในโพสต์หน้าๆ เราจะเริ่มเอาโค้ดมาใส่ใน tuple_code เป็นหลัก

ก่อนจะเริ่มเขียนกัน เราต้องโหลด CSV file จาก repository มาก่อน ชื่อไฟล์ว่า denied_boarding.csv ส่วนที่มาของ data คราวๆคือเราใช้ BeaitifulSoup ในการเก็บข้อมูลมาจากเว็บ Bureau of Transportation Statistics สคริปเต็มๆที่ใช้เก็บข้อมูลชื่อว่า download_report.py ลองไปดูรายละเอียดกันได้

หลังจากโหลด data มาแล้ว เราสามารถอ่านไปใน Python ไปในรูปของ Pandas dataframe (คล้ายกับ dataframe ใน R) ก่อนโดยใช้ไลบรารี่ชื่อว่า pandas จะเห็นว่าในแต่ละหลักของข้อมูลยังไม่ได้เป็นจำนวนเต็มหรือ int จึงต้องแทนที่ , กับ $ เล็กน้อยโดยใช้ replace หน้าตาของโค้ดเป็นไปตามด้านล่าง

import pandas as pd

df = pd.read_csv("denied_boarding.csv")
for col in ['3', '4', '7', '8(a)']:
    df.loc[:, col] = df[col].map(lambda x: int(x.replace('$', '').replace(',', '')))
df.loc[:, 'denied_boarding_ratio'] = df['4']/df['7'] * 10000 # denied boarding ratio

เท่านี้เราก็จะได้ dataframe ที่พร้อมใช้พล็อตกันละ เรามาลองพล็อตกันสองอย่างกันในโพสต์นี้ได้แก่ Bar chart, Scatter Plot

Bar Chart

ก่อนอื่นต้องโหลด function ที่เราจะใช้กันจาก bokeh ไลบรารี่

from bokeh.models import HoverTool, ColumnDataSource, LabelSet
from bokeh.charts import Bar, Scatter
from bokeh.resources import CDN
from bokeh.embed import file_html
from bokeh.charts.attributes import cat, color
from bokeh.charts.operations import blend

จากนั้น เนื่องจากเรามีข้อมูลจากหลาย quarter เราจะเลือกมาพล็อตเพียงแค่ quarter เดียวก่อน ใช้คำสั่ง df.query(...) ในที่นี้เราจะพล็อต quarter สุดท้ายของปี 2016 กัน

# bar plot
quarter = '2016_4q'
df_q = df.query("time=='%s'" % quarter)

hover = HoverTool(
        tooltips=[
            ('Airline', "@CARRIER"),
            ("denied boarding ratio", "@height")
        ]
)
p = Bar(df_q,
        label='CARRIER',
        values='denied_boarding_ratio',
        color="wheat",
        tools=[hover], legend=None,
        title="Denied Boarding " + quarter,
        xlabel="Airlines", ylabel="Number of passengers denied boarding/10000 Passengers")

html = file_html(p, CDN, title="Denied Boarding 2016 Q4")
output_file = open('bar_plot.html', 'w')
output_file.write(html)

พล็อตที่ได้จะถูกเซฟไปที่ไฟล์ชื่อ bar_plot.html ซึ่งสามารถเปิดดูได้จากบราวเซอร์ทั่วไปเช่น Google Chrome, Safari, Firefox

Bar Chart Group

นอกจากแค่พล็อตข้อมูลจากควอเตอร์เดียวของปี เรายังสามารถใช้ทริกของ Bokeh ได้เพื่อ group เวลาใน quarter ต่างๆ แค่เพิ่ม group="time" ก็จะพล็อตจำนวนผู้โดยสารที่โดนไล่ออกต่อจำนวนคนขึ้นเครื่องได้แล้ว

# bar plot grouped
quarters = ['2016_1q', '2016_2q', '2016_3q', '2016_4q']
df_q = pd.concat([df.query("time=='%s'" % quarter) for quarter in quarters])

hover = HoverTool(
        tooltips=[
            ('Airline', "@CARRIER"),
            ("denied boarding ratio", "@height")
        ]
)
p = Bar(df_q,
        label='CARRIER',
        values='denied_boarding_ratio',
        group="time",
        color=color(palette=['#ff692e', '#ffa07a', '#ffcfbc', '#ffd9c9'], sort=False),
        tools=[hover],
        legend='top_right',
        title="Denied Boarding in 2016",
        xlabel="Airlines", ylabel="Number of passengers denied boarding/10000 Passengers")

html = file_html(p, CDN, "Denied Boarding 2016 Q4")
output_file = open('bar_plot_group.html', 'w')
output_file.write(html)

จะเห็นว่าจำนวนคนที่ถูกห้ามไม่ให้ขึ้นเครื่องต่อจำนวนผู้โดยสารหนึ่งหมื่นคนในปี 2016 แต่ละ quarter ค่อนข้างจะคงที่ สายการบินที่แย่ที่สุดก็คือ Express Jet ซึ่งผู้เขียนโพสต์ก็ยังไม่เคยขึ้นเหมือนกัน

Bar Chart Stack

เราจะมาพล็อตกลุ่มของคนที่โดนไล่ลงของแต่ละสายการบินกันบ้าง กลุ่มแรก(สีส้มเข้ม)คือกลุ่มที่ถูกไล่ลงแล้วได้เงินคืน ส่วนอีกกลุ่ม(สีส้มอ่อน)คืนกลุ่มที่ถูกไล่ลงแล้วไม่ได้เงินคืน สายการบินที่ให้เงินคืนเป็นหลักน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า

# bar plot stacked
quarters = ['2016_1q', '2016_2q', '2016_3q', '2016_4q']
df_q = pd.concat([df.query("time=='%s'" % quarter) for quarter in quarters])
df_q.loc[:, '3-4'] = df_q['3'] - df_q['4']

hover = HoverTool(
        tooltips=[
            ('Airline', "@CARRIER"),
            ("Number of passengers", "@height")
        ]
)
p = Bar(df_q,
        label='CARRIER',
        values=blend('4', '3-4', labels_name='denied_total'),
        stack="denied_total",
        color=color(palette=['#ffa07a', '#ffd9c9'], sort=False),
        tools=[hover],
        legend='top_right',
        title="Denied Boarding in 2016",
        xlabel="Airlines", ylabel="Number of passengers denied boarding/10000 Passengers")

html = file_html(p, CDN, "Denied Boarding 2016 Q4")
output_file = open('bar_plot_stack.html', 'w')
output_file.write(html)

Scatter Plot

ในพล็อตนี้เราจะมาพล็อตความสัมพัทธ์ระหว่างจำนวนคนที่โดนเทตอนขึ้นเครื่องกับจำนวนคนที่ขึ้นจริงๆกันบ้าง จะได้เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าสายการบินไหนเป็นสายการบินใหญ่

# scatter plot
quarters = ['2016_1q', '2016_2q', '2016_3q', '2016_4q']
df_q = pd.concat([df.query("time=='%s'" % quarter) for quarter in quarters])
df_2016 = df_q.groupby('CARRIER').sum()[['3', '7']].reset_index()

hover = HoverTool(
        tooltips=[
            ('Denied boarding involuntarily', "$x"),
            ("Total Boarding", "$y")
        ]
)
labels = LabelSet(x='3', y='7', text='CARRIER',
                  x_offset=5, y_offset=-5,
                  source=ColumnDataSource(df_2016),
                  text_font_size="8pt", text_color="#555555")

ps = Scatter(df_2016, x='3', y='7',
             title="Scatter Plot of Number of Passengers vs. Denied Boarding Passengers in 2016",
             xlabel="Denied boarding involuntarily",
             ylabel="Total Boarding",
             tools=[hover],
             )
ps.add_layout(labels)
html = file_html(ps, CDN, "Scatter Plot of Number of Passengers vs. Denied Boarding Passengers")
output_file = open('scatter_plot.html', 'w')
output_file.write(html)

การอ่านพล็อตนี้ก็ไม่ยากเลยนะ เราต้องการสายการบินที่มี total boarding สูงแต่มี denied boarding ต่ำ ในที่นี้ Delta น่าจะเป็นสายการบินที่ดูน่าบินด้วยมากที่สุด ถ้าไม่อยากโดนเตะลงจากเครื่องเป็นต้น

ใครที่ตามไม่ทันในโพสต์นี้หรืออยากลองไปทำกันต่อ สามารถไปดูกันได้ที่ bokeh_plot.ipynb

สุดท้าย แต่ไม่ท้ายสุด

นอกจากโพสต์ของพี่ต้าแล้ว เราก็ชอบโพสต์ของ The Wired ที่อธิบายว่าทำไมสายการบินถึงต้องขายตั๋วเกินลิมิตของเครื่องบิน ลองไปอ่านกันดูนะ

ในไฟล์ที่ให้มาเรามี data อีกหลาย columns ที่ยังไม่ได้ลองใช้กัน ใครว่างๆก็ลองเอาสคริปไปใช้และพล็อตข้อมูลที่สนใจกันได้ตามสะดวก

ตอนนี้ผู้เขียนไม่ไหวละ ขอตัวไปนอนก่อน บัยย

จาก Reinforcement Learning จนมาเป็น Deep Reinforcement Learning (ฉบับพกพา)

ทำความรู้จักการเรียนรู้แบบเสริมกำลัง (reinforcement learning) ตั้งแต่เบื้องต้น จนมาเป็น Deep Reinforcement Learning ได้ในงานวิจัยปัจจุบัน

[Python] profiler ด้วย line_profiler

Published on February 09, 2019

[รีวิว] เน็ตบ้าน AIS

Published on February 05, 2019