เมื่อเร็วๆ นี้ Github ได้โพสต์บล็อก GitHub Pages now faster and simpler with Jekyll 3.0 กล่าวถึงการอัพเกรดเครื่องในมาใช้ Jekyll 3.0 และเนื่องจากบล็อกนี้ก็พึ่งพิง Github Pages กับ Jekyll อย่างเต็มตัว พอมีอะไรเปลี่ยนแปลงก็ควรจะเขียนถึงสักหน่อย
การอัพเกรดในครั้งนี้ Github ต้องการที่จะทำให้การใช้งาน Github Pages ร่วมกับ Jekyll นั้นง่ายและเร็วขึ้นด้วยการอัพเกรดเวอร์ชันของ Jekyll มาเป็นรุ่น(เกือบ)ล่าสุด รวมไปถึงทำให้ประสบการณ์ในการเขียน Markdown นั้นใกล้เคียงกับที่ใช้กันบน Github.com มากที่สุดด้วย สำหรับประเด็นหลักๆ ที่ Github ได้กล่าวถึงก็มีประมาณนี้
ปรับการสนับสนุนเอนจิน Markdown
Markdown อาจเปรียบได้กับภาษากลางของชุมชน open source แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะมีรูปแบบการเขียนที่เป็นหนึ่งเดียว ดังนั้นมันก็เลยเกิด fragmentation ขึ้นจากการที่มันมีหลายเอนจินให้เลือกใช้ ทาง Github ก็ตัดสินใจแก้ปัญหานี้โดยการสนับสนุนเอนจินเดียวนั่นก็คือ kramdown ใครที่ยังใช้ Rdiscount หรือ Redcarpet อยู่ก็ยังคงเรนเดอร์ได้ตามปกติจนถึงวันที่ 1 พฤษภาคม 2016 นี้ โดยผลการคอมไพล์อาจจะช้าสักหน่อยและตามมาด้วยอีเมล์แจ้งเตือน Deprecation จาก Github สิ่งที่เราต้องทำก็เพียงไปแก้เอนจินของเราในไฟล์ _config.yml
ให้ใช้ kramdown ซะ หรือไม่ก็ลบตรงส่วน Markdown ออกไปเลยก็ได้
ปรับการสนับสนุน Highlighter
ในสายนักพัฒนาโปรแกรมแน่นอนว่าจะต้องมีการเขียนโค้ด ซึ่งการเน้น syntax ต่างๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เราอ่านโค้ดได้เร็วขึ้น โดยแต่เดิม Jekyll สนับสนุุน Highlighter หลายตัวเช่น Pygments, Coderay และ Rouge แต่ในการยกเครื่องครั้งล่าสุดนี้ Github Pages จะสนับสนุนแค่เพียง Rouge เท่านั้น
โดยปกติเมื่อเราต้องการจะเน้นสีของโค้ดใน Jekyll เราจะต้องใช้ Liquid tag highlight แต่จากการเปลี่ยนมาใช้ kramdown + Rough เราสามารถที่จะใช้ backtick-style fenced code blocks เหมือนการเขียน Markdown ปกติได้เลย
เร่งความเร็ว
สิ่งที่เห็นได้ชัดอย่างหนึ่งของ Jekyll 3.0 คือรัน local ได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ใหม่ซึ่งก็คือ Liquid profiler โดยเติม --profile
เข้าไปตอนรัน Jekyll จะแสดงผลการ build ของเพจดังภาพ ทำให้เราสามารถรู้ได้ว่ามีตรงไหนที่เราจะทำให้มันเร็วขึ้นได้อีกมั้ย
อื่นๆ
-
Jekyll เลิกสนับสนุน relative permalinks ตั้งแต่เวอร์ชัน 2.0 ดังนั้นในการอัพเกรดครั้งนี้ก็ทำให้ Github Pages เลิกสนับสนุนตามไปด้วย อย่างไรก็ตามปัญหานี้จะเกิดก็ต่อเมื่อเราประกาศใช้
relative_permalinks: true
เท่านั้น -
Github Pages จะเลิกสนับสนุน Textile โดยให้เปลี่ยนมาใช้ Markdown แทนภายในวันที่ 1 พฤษภาคม 2016 นี้
หลักๆ ก็ประมาณนี้ ถ้าใครใช้อะไรที่มันกำลังจะโดนทิ้งก็ได้ฤกษ์เปลี่ยนกันแล้วล่ะ สำหรับ tupleblog นั้นเราใช้ HPSTR theme ซึ่งใช้ Coderay เป็น highlighter ตอนนี้ก็เลยโดนเตือนรัวๆ
Deprecation: You are using 'enable_coderay', use syntax_highlighter: coderay in your configuration file.
Deprecation: You are using 'kramdown.coderay' in your configuration, please use 'syntax_highlighter_opts' instead.
Deprecation: You are using 'coderay_line_numbers'. Normalizing to line_numbers.
Deprecation: You are using 'coderay_line_numbers_start'. Normalizing to line_numbers_start.
Deprecation: You are using 'coderay_tab_width'. Normalizing to tab_width.
Deprecation: You are using 'coderay_bold_every'. Normalizing to bold_every.
Deprecation: You are using 'coderay_css'. Normalizing to css.
บล็อกเราโคลน repo ของ HPSTR มาเป็นเวลานานมากแล้ว ตั้งแต่ยังไม่มีการสนับสนุน Jekyll 3.0 เดี๋ยวก็คงต้องมานั่งทำให้มันรองรับทุกอย่างตามการอัพเกรดของ Github Pages ในครั้งนี้เร็วๆ นี้ สำหรับการอัพเกรดในเครื่องเราเพื่อ local preview ก็ทำได้ไม่ยาก ฝากไว้ตรงนี้เลยละกัน
การติดตั้ง Jekyll สำหรับ Github Pages
- เช็คเวอร์ชันของ Ruby ก่อนโดยรัน
ruby --version
อย่างน้อยต้องเวอร์ชัน 2.0.0 ถ้าไม่ถึงหรือไม่มีก็ตามไปอ่านวิธีติดตั้งได้ ที่นี่ เลย - ลง Bundler ด้วยก็จะดี เพื่อช่วยจัดการกับแพคเกจต่างๆ ที่ใช้กับ Jekyll ได้ง่ายขึ้น หรือจะไม่ลงก็แล้วแต่ความสะดวกใจ
gem install bundler
- ลง Jekyll ผ่าน github-pages gem โดยถ้าไม่ได้ลง bundler ก็ให้ใช้
gem install github-pages
แทน แต่อาจมีปัญหากับการจัดการแพคเกจบ้างเล็กน้อยซึ่งก็ต้องไปงมกันต่อไป แต่ถ้าลง bundler จากข้อเมื่อกี้ก็ให้สร้างไฟล์ชื่อGemfile
ใน root ของ repo โดยในไฟล์ใส่ตามด้านล่าง แล้วก็รันbundle install
เป็นอันเสร็จ
source 'https://rubygems.org'
gem 'github-pages'
แก้ไขไฟล์ _config.yml
เอาตามนี้เลยละกัน จริงๆ ไม่ต้องใส่อะไรเลยก็ได้ Github Pages จะเรนเดอร์โดยตั้งค่าเริ่มต้นเป็น kramdown กับ Rouge เอง แต่ถ้าจะตั้งก็ตามนี้เลยก็ได้
สำหรับบล็อกนี้ก็จบตรงนี้ละกัน มาใช้ Github Pages กันเยอะๆ นะ :)
ที่มา - Github blog