[nerd] Facebook Messenger รองรับการเรนเดอร์ (La)TeX Math แล้ว

tulakann bio photo

By tulakann

เวลาว่างส่วนใหญ่หายไปกับการนอน

Email Twitter Google+ Github

Reading time ~8 minutes

tulakann bio photo

By tulakann

เวลาว่างส่วนใหญ่หายไปกับการนอน

Email Twitter Google+ Github

สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน วันนี้เราก็มีเรื่องเนิร์ดๆ กีคๆ มานำเสนออีกเช่นเคย โดยความเนิร์ดวันนี้ก็คือการที่ได้รับรู้ว่า Facebook Messenger รองรับการเรนเดอร์ LaTeX syntax แล้วจ้า โดยพวกเรารู้มาจากพี่สาวของ @bachkukkik อีกที เนื่องจากยังหาข่าวหรืออ้างอิงที่ไหนไม่เจอนอกจากกระทู้นี้จาก Reddit ก็จะขอเขียนจากเท่าที่ได้ลองเล่นดูละกัน โดยการเรนเดอร์แบบพิเศษนี้หลักๆ จะแบ่งเป็น TeX Math block กับ Inline code และ Fence code block ที่แสดงผลแตกต่างกัน เกริ่นแค่นี้พอ ลองไปเล่นจริงๆ กันดูเลยดีกว่า

TeX Math block

เนื่องจากทางบล็อกเราค่อนข้างจะชื่นชอบการใช้งาน LaTeX อยู่ไม่น้อย บล็อกเก่าๆ เกี่ยวกับ LaTeX ก็มีอยู่บ้าง (1, 2, 3) พอเห็นฟีเจอร์นี้มาก็อดตื่นเต้นไม่ได้ เล่นกันรัวๆ และจะมาแบ่งคนอื่นเล่นกันบ้าง เริ่มกันเลย

Facebook Messenger รองรับการเรนเดอร์ TeX Math ในรูปแบบที่แตกต่างจากปกติเล็กน้อยผ่านการครอบด้วย $$ เช่น $$ LaTeX syntax $$ ซึ่งเอนจินที่ใช้ในการเรนเดอร์ก็คือ KaTeX ซึ่งเป็น JS library ที่ช่วยในการเรนเดอร์ TeX Math นั่นเอง เรามาลองดูตัวอย่างกันเลยดีกว่า

ถ้าเราเขียนสมการนี้ $$ x + y = 1 $$ มันก็จะเรนเดอร์ออกมาได้แบบนี้

ลองไปดูที่ซับซ้อนขึ้นมานิดนึง เป็นอันนี้ $$ x=\frac{1+y}{1+2z^2} $$ สมการจะออกมาเป็นแบบนี้

ตัวอย่างสุดท้าย ลองเมตริกซ์กันไปเลย แบบนี้

A_{m,n} =
 \begin{pmatrix}
  a_{1,1} & a_{1,2} & \cdots & a_{1,n} \\
  a_{2,1} & a_{2,2} & \cdots & a_{2,n} \\
  \vdots  & \vdots  & \ddots & \vdots  \\
  a_{m,1} & a_{m,2} & \cdots & a_{m,n}
 \end{pmatrix}

จะได้ออกมาเป็น

สำหรับคนที่น่าจะได้ใช้ ก็คงต้องมีตื่นเต้นกันไม่มากก็น้อยแหละ (มั้ยอะ) เวลาคุยกับเพื่อนร่วมงานที่จำเป็นต้องใช้สมการอะไรพวกนี้ หรืออยากให้สมการที่เขียนเวลาคุยงานดูดีมีระดับก็สามารถทำได้ไม่ยากเลย ผ่าน Facebook Messenger นี่เอง อย่างไรก็ดีข้อจำกัดของการใช้ TeX Math syntax นี้คือไม่สามารถผสมกับการเขียนบรรยายได้ ก็คือถ้าเราต้องการจะแชร์สมการก็ต้องเขียนแต่สมการอย่างเดียวในข้อความนั้นแล้วค่อยอธิบายในข้อความต่อๆ ไป

Code block

สำหรับเพื่อนๆ โปรแกรมเมอร์ เวลาที่เราต้องการจะแชร์ snippet กับเพื่อนก็มักจะใช้ Markdown (md) ซึ่งเป็นภาษา Markup ที่ใช้ง่ายภาษานึงกัน แต่ md มันก็มีให้ใช้แค่บน GitHub, Bitbucket หรือ Slack อะไรพวกนั้น แต่ตอนนี้ Facebook Messenger ก็เริ่มสนับสนุนการแชร์โค้ดผ่านแชทแล้วเช่นกัน อันนี้ไม่รู้ว่าใช้เอนจินอะไรในการเรนเดอร์เหมือนกันแต่ก็ออกมาโอเคทีเดียว เรามาเริ่มกันที่ Inline code ก่อน

Inline code

สำหรับ inline code ก็มักจะเอาไว้ใช้เวลาเราจะเขียนตัวแปร สมการสั้นๆ หรือค่าตัวเลขต่างๆ รวมเข้าไปกับการบรรยาย เพื่อให้ฟ้อนต์นั้นดูแตกต่างจากตัวหนังสือโดยรอบ ตัวอย่างเช่นถ้าเราเขียน

หนึ่งในสมการความสัมพันธ์ระหว่างระยะทาง เวลา และความเร็ว เขียนได้ว่า `S = ut + 1/2a(t^2)`

มันจะเรนเดอร์ออกมาเป็น

เปรียบเทียบระหว่างการใช้ Inline code (บน) และไม่ใช้ (ล่าง)

ซึ่งคนที่ไม่ได้สนใจเท่าไหร่อาจจะเห็นว่ามันไม่ต่างกัน แต่ถ้าสังเกตอีกนิดจะเห็นว่าแบบที่ใช้ Inline code จะอ่านง่ายกว่าเนื่องจากฟ้อนต์ถูกเรนเดอร์ออกมาเป็น Monospace แล้วนั่นเอง สิ่งที่ทำให้ Code block แตกต่างจาก LaTeX Math ก็คือมันจะไม่สามารถเรนเดอร์ออกมาเป็นเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ได้นั่นเอง

Fence code block

ในส่วนของ Fence code block บน Facebook Messenger นี้จะพิเศษสักหน่อย เพราะหลังเรนเดอร์จะมีสีพื้นหลังที่เปลี่ยนไปด้วย แต่หลักการใช้งานนั้นจากที่ลองเล่นดูคิดว่ามีความคล้ายกับ GitHub Flavored Markdown (GFM) มากๆ เลย ก็เลยจะขอหยิบบางตัวอย่างจากทาง GitHub มาแสดงบนนี้ด้วย

ขอยกตัวอย่างด้วย snippet ของภาษา JavaScript (JS) ที่มาจาก GitHub นี้ละกัน

```
  function test() {
    console.log("notice the blank line before this function?");
  }
```

จะเรนเดอร์ออกมาแบบนี้

แต่ความพิเศษมันอยู่ตรงที่เราสามารถไฮไลท์ syntax ของแต่ละภาษาได้ด้วย เพียงแค่เพิ่มชื่อภาษาเข้าไปหลัง ``` นั่นเอง แบบนี้

```javascript
  function test() {
    console.log("notice the blank line before this function?");
  }
```

code ที่เรนเดอร์แล้วก็จะออกมามีสีไฮไลท์อย่างที่มันควรจะเป็นแบบนี้เลย แท่นน

คอมเม้นต์ส่งท้าย

จบกันไปแล้วสำหรับการยกตัวอย่างเท่าที่เราลองเล่นเองแล้วเจอมา หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์(?)สำหรับผู้ที่สนใจทุกท่านได้ลองไปใช้ไปเล่นกันดู จริงๆ แล้วสิ่งที่มันเจ๋งที่สุดก็คือมันดูดีอ่านง่ายขึ้นนี่แหละ ถึงแม้ว่าอาจจะยังไม่สมบูรณ์เท่าไหร่และยังไม่มี documentation แต่เชื่อว่าอีกไม่นานน่าจะมีตามออกมาแน่นอน (ถ้าเค้าไม่เปลี่ยนใจพับแผนเก็บน่ะนะ) สำหรับบล็อกนี้ก็คงจะมีเท่านี้ ขออภัยสำหรับรูปที่อาจจะเยอะไปสักหน่อย ถ้าใครไปเล่นมาเจออะไรเด็ดๆ กว่านี้ก็เอามาแชร์กันบ้างนะครับ

สวัสดี

ปล.ทุกสิ่งทุกอย่างที่ยกตัวอย่างไปในบล็อกนี้ ณ ขณะนี้ยังสามารถใช้งานได้แต่บน Facebook Messenger เวอร์ชัน Desktop หรือบนคอมพิวเตอร์เท่านั้นนะครับ ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมบนมือถือเล่นไม่ได้ ส่วนตัวก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าทาง Facebook จะสนับสนุนการเรนเดอร์บนแอปเวอร์ชันมือถือมั้ย ก็ต้องติดตามกันต่อไปครั่บ :D

จาก Reinforcement Learning จนมาเป็น Deep Reinforcement Learning (ฉบับพกพา)

ทำความรู้จักการเรียนรู้แบบเสริมกำลัง (reinforcement learning) ตั้งแต่เบื้องต้น จนมาเป็น Deep Reinforcement Learning ได้ในงานวิจัยปัจจุบัน

[Python] profiler ด้วย line_profiler

Published on February 09, 2019

[รีวิว] เน็ตบ้าน AIS

Published on February 05, 2019