Python Data Science and Machine Learning Meetup at Hangar
เปิดให้ลงทะเบียนเข้างานในเวลา 17.30 น. โดยทาง tupleblog จะขอสงวนที่นั่งให้กับผู้ที่ลงทะเบียนทาง Google form แล้วก่อน และ ผู้ walk in ในลำดับถัดไป
- ลักษณะงาน: meetup + Q&A, ไม่จำเป็นต้องใช้โน้ตบุ๊ค
- สถานที่ : Hangar co-working space, DTAC, จามจุรี สแควร์ ชั้น 2 หน้าร้าน Daiso
- เส้นทางสาธรณะที่แนะนำ : MRT สามย่าน
- ที่จอดรถ : จามจุรีสแคร์ จอดฟรี 2 ชั่วโมงแรก ชั่งโมงต่อไป ชั่วโมงละ 20 บาทครับผม
- ค่าใช้จ่ายในการเข้า meetup : ฟรี!
- ลงทะเบียนตอนนี้ยังทันไหม?? : ไม่ทันแล้วครับ ทางเราจะส่งอีเมล์ไปให้สำหรับคนที่ลงทะเบียนก่อนนะครับ
ตารางงาน
วันพฤหัสที่ 3 สิงหาคม 2560
6:00 - 6:30 pm พบปะ พูดคุยกับคนที่มาในงาน และผู้พูด
6:30 - 6:40 pm เปิดงาน แนะนำผู้พูด
6:40 - 7:00 pm Python tools for Data Science โดย ฐิติพัทธ (มาย) มายจะมาพูดถึง tools และ
library ที่ใช้กันในงานวิจัยและงานวิจัยข้อมูลกัน
7:00 - 7:20 pm Python and Git in academic research โดย ตุลาการ (ตุลย์) ตุลย์จะพูดเกี่ยวกับการใช้
git version control ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในงานวิจัยและ open source
7:20 - 7:40 pm Keynote ต้า วิโรจน์ อดีต Data Scientist จาก Facebook และผู้ก่อตั้ง Skooldio
7:40 - 7:50 pm พัก 10 นาที
7:50 - 8:10 pm Scene Text Recognition - เราจะมาอธิบายการใช้ AI ในการอ่านข้อความที่เราเห็นกันทั่วไปในชีวิตประจำวันเนี่ยละ พวกป้ายบอกทาง label สินค้า โฆษณา ป้ายทะเบียน และอื่นๆอีกมาก เราจะทำอย่างไรให้ computer เข้าใจ และแปลงข้อมูลจากภาพเหล่านั้น ออกมาเป็นตัวหนังสือได้
8:10 - 8:30 pm Deepcut - โปรแกรมตัดคำภาษาไทยซึ่งริเริ่มทำโดยบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็น open source อีกด้วย เขียนและพูดโดย ปึง รักพงษ์
ช่วงนี้ทุกคนอาจจะได้ยินคนพูดถึง Data Science, Machine Learning, Deep Learning กันบ่อยครั้ง บางคนอาจจะรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้จักคำพวกนี้มาก่อน หรือบางคนอาจจะรู้จักแต่ไม่เคยได้ลองใช้กันจริงๆ
Data Science มีบทบาทเป็นอย่างมากในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาในต่างประเทศ มีการนำเทคนิคมาใช้ ทั้งการวิเคราะห์ข้อมูล การพยากรณ์ราคาบ้าน วิเคราะห์กลุ่มผู้บริโภคเพื่อใช้ในการทำ Personalize recommendation เช่นใน Amazon, Spotify และอื่นๆ อีกมากมาย รวมถึงในประเทศไทยก็เรื่มมีการเก็บข้อมูลและนำข้อมูลออกมาวิเคราะห์ ยกตัวอย่างของทางภาครัฐก็ออกเว็บไซต์ ภาษีไปไหน ให้คนทั่วไปเข้ามาใช้ได้ เป็นต้น
พวกเรากลุ่ม tupleblog เล็งเห็นถึงความสำคัญและบทบาทของ Data Science ที่จะมีในทั้งธุรกิจ สื่อ รวมไปถึงงานวิจัยในเมืองไทย และคิดว่าน่าจะดีถ้ามีงานที่สามารถรวมกลุ่มของผู้ที่มีความสนใจในด้านนี้ในไทยมารวมตัวกัน หรือพบปะกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความสนใจ หรือต่อยอดไปถึงความร่วมมือกันในงานวิจัยจากกลุ่มคนหลายๆ สาขาในไทย
พูดมาขนาดนี้ ถ้าไม่มีอะไรต่อจากนี้ก็คงแปลกสินะ ฮ่าๆ
ข่าวดีก็คือพวกเรากลุ่ม tupleblog จะจัดงาน meetup ที่ฮังการ์ (Hangar) ซึ่งเป็น co-working space ของ DTAC ในวันที่ 3 สิงหาคมที่จะถึงนี้! โดยงานจะมีขึ้นระหว่าง 6 โมงเย็นยาวไปจนถึงสามทุ่ม
เราได้เชิญนักวิจัยข้อมูล (Data Scientist) และนักวิจัยจากหลายแขนงมาพูดในงาน Meetup ดังต่อไปนี้
- พี่ต้า วิโรจน์ จิรพัฒนกุล อดีต Data Scientist จาก Facebook และ Google Developer Expert ใครอยากอ่านประวัติของพี่ต้าก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ blognone
- ตุลาการ เรืองรอง ผู้ช่วยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล กับ Python และ git ในงานวิจัย
- ฐิติพัทธ อัชชะกุลวิสุทธิ์ นักศึกษาปริญญาเอกจาก University of Pennsylvania ซึ่งขณะนี้กำลังฝึกงานอยู่ที่ Allen Institute for Artificial Intelligence จะพูดถึง Data Science และ Machine Learning landspace ใน Python
- รักพงษ์ กิตตินราดร Data Scientist จาก True Corporation จะมาพูดถึงโปรเจกต์ deepcut ที่ใช้ Deep Learning Algorithm จาก Keras ตัดคำภาษาไทย และยังเปิด open source ภายใต้ MIT license อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก blognone
- ธนานพ กอบชัยสวัสดิ์ นักศึกษาปริญญาเอกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมาพูดถึงการใช้ Machine Learning และ Deep Learning algorithm ใน Scene Text Recognition เช่นการหาหมายเลขบ้าน ทะเบียนรถ และเบอร์ของนักวิ่งมาราธอน
โดยแต่ละ talk มีความยาวประมาณ 20 นาที หลังจากงานถ้าใครยังไหวอยู่ก็ชักชวนไปกินดื่มกันต่อที่สามย่านกับพวกเรา
ใครที่อยากรู้จักกับ speakers แต่ละคน tupleblog สัญญาว่าโพสต์หน้าจะมาเล่ารายละเอียดคร่าวๆของแต่ละคนอย่างแน่นอน
ลงทะเบียนเข้างาน
เต็มแล้วครับ!
พวกเรารับสมัครบุคคลทั่วไป อาจารย์ นิสิตและนักศึกษา ที่มีความรู้พื้นฐานของการใช้โปรแกรม Python และมีพื้นฐาน Data Science เล็กน้อยถึงปานกลาง หรือผู้ที่ใช้งาน Python อยู่ในงานวิจัยหรือธุรกิจ
รับจำนวนจำกัดที่ 50 คนเท่านั้นนะ
รับสมัคร lighting talk
นอกจากนั้นเรายังรับสมัคร lighting talk ความยาว 5 นาทีต่อ talk ใครที่สนใจอยากพูดงานของตัวเองที่ใช้
Data Science หรือ Machine Learning สามารถอีเมล์คุณกุกกิกได้ที่ krichkorn@gmail.com
รายละเอียดเพิ่มเติม
สำหรับผู้ที่ลงทะเบียน เราจะแจ้งรายละเอียดเพิ่มเติม รวมถึงตารางงานกับผู้ที่ได้รับเลือกเข้างานไปทางอีเมล์ภายในปลายเดือนกรกฎาคมนะครับ