บล็อกสั้นวันนี้ขอเสนอการติดตั้ง Ruby ซึ่งวันนี้มันพังทำให้เราต้องเสียเวลาไปพอสมควร ไม่น่าเชื่อว่าภาษาที่คนใช้มากขนาดนี้จะไม่สามารถลงได้อย่างง่ายๆ ด้วยคำสั่งเดียว T_T แต่จากประสบการณ์การใช้งานทั้งบน Windows และ Mac OS X ก็ไม่ค่อยเจอปัญหาตอนติดตั้งบน Windows นะ คงเพราะมีคน build มาเป็น .msi
ให้อย่างสะดวกสบาย (ที่นี่) พอมาบน Mac ปัญหามันเกิดจาก
- Mac มี built-in Ruby ตอนนี้มันก็ยังอยู่ในเครื่อง ลบก็ไม่ได้ ทำอะไรกับมันไม่ได้เลย
sudo
ไม่ช่วยอะไร เป็นเวอร์ชัน2.0.0
สักอย่างอยู่ - ก่อนจะพังเราเคยลง Ruby ไว้ทั้งผ่าน Homebrew และ rbenv และตอนนั้นเนื่องจากรีบๆ เลยไม่ได้เคลียร์พวก path ไว้ สุดท้ายก็ใช้ตัวที่ลงผ่าน Homebrew มาเรื่อยๆ จนมาเกิดปัญหารัน
gem
ไม่ผ่านวันนี้ - เราใช้ tmux (Terminal Multiplexer) ด้วย ซึ่งเซตไว้หลาย sessions เพื่อแต่ละงานที่ต่างๆ กัน และด้วยการใช้ปลั๊กอินทั้ง tmux-resurrect และ tmux-continuum ทำให้เราไม่ค่อยปิดเปิด terminal สักเท่าไหร่ ซึ่งเวลาติดตั้งบางอย่างมันเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ.. Ruby ก็เช่นกัน
ตอนแรกก็แค่ติด sudo
แต่พอรันด้วย sudo
ก็ยังไม่ผ่านไป error อย่างอื่นอีก ซึ่งไม่ได้แคปไว้ด้วย เข้าใจว่าไม่ค่อยได้อัพเดท Homebrew ในช่วงหลังๆ มานี้ พอมาอัพเดทบางอย่างเลยพังจากการ symlink อันมั่วถั่วขั้นสิบ error สุดท้ายที่จำได้คือมันเรียกหา libyaml
แต่เราก็ลงไปแล้ว แค่มันหาไม่เจอเอง brew install ruby
ไม่ได้ช่วย build ตามที่เราต้องการ ทางเลือกคงเหลือแค่ build from source ซึ่งก็เกือบจะลงมือละ โชคดีไปเช็คเจอ Path มันมี rbenv อยู่ ก็เกือบจะลืมไปละว่ามันคืออะไร
rbenv
ก็นั่งอ่านๆ ไปสักพักหลายๆ คนก็แนะนำให้ลง Ruby ด้วย RVM หรือ rbenv ดีกว่า เปิดผ่านๆ ไปเรื่อยๆ นับ rbenv ได้มากกว่า RVM ก็เลยไปทาง rbenv ซะเลย เอางี้แหละไม่ได้ใช้เป็นภาษาหลัก ขอให้รัน gem
ได้ก็กราบละตอนนี้ ถึงตอนนี้คนที่เคยใช้ก็อาจจะรู้แล้วว่า RVM rbenv คืออะไร สองหน่อนี้มันคือตัวบริหารจัดการ environment ในการติดตั้ง Ruby มันทำให้เราสามารถลง Ruby หลายๆ เวอร์ชันพร้อมๆ กันได้ (ทำไมต้องลงหลายเวอร์ชัน นักพัฒนา Ruby เค้าใช้ชีวิตกันยังไง ฮือ) และเลือกที่จะทำงานกับ environment ที่ต้องการได้อย่างง่ายๆ แต่สำหรับเราแล้ว ช่วยลงให้มันรัน gem
ได้ก็พอแล้ว 5555
เริ่มเลย ขั้นตอนเหล่านี้ดัดแปลงมาจาก readme ของ rbenv แล้วก็บล็อกของ Robert Anderson นะ เนื่องจากเราเลือก rbenv ก็ลง rbenv ผ่าน Homebrew เนี่ยแหละ โก!
$ brew update
$ brew install rbenv
$ brew install ruby-build
แล้วก็หวังให้มันติดตั้งได้อย่างปลอดภัย ต่อมา จาก readme ของ rbenv เค้าบอกให้รัน rbenv init -
ซึ่งมันก็จะเพิ่ม Path ให้ใน ~/.bash_profile
(ใครใช้ zsh ต้องย้ายไป ~/.zshrc
เองนะ) เสร็จแล้วก็ลง Ruby เลย ในที่นี้ลงเวอร์ชัน 2.4.1
ถ้าอยากลองดูเวอร์ชันทั้งหมดที่ลงได้ก็รัน rbenv install -l
ดูได้
$ rbenv install 2.4.1
$ rbenv rehash
เสร็จแล้วก็เช็คโลด
$ ruby --version
ruby 2.4.1p111 (2017-03-22 revision 58053) [x86_64-darwin16]
$ which ruby
/Users/username/.rbenv/shims/ruby
เย้ได้แล้ว ไหนลองปิด terminal แล้วเปิดใหม่ซิ
$ ruby --version
ruby 2.0.0p648 (2015-12-16 revision 53162) [universal.x86_64-darwin16]
$ which ruby
/usr/bin/ruby
อ่าว ไหงทำกะเรางี้ อยากกลับก็กลับงี้ก็ได้หรอ ไม่รู้เหมือนกันว่าอันนี้เป็น bug หรือ feature แต่เราอยากให้เปิด terminal ขึ้นมาปุ๊บก็ใช้อันที่ติดตั้งโดย rbenv เลยอ้ะ.. จริงๆ แล้วก็ไม่ยากแค่เพ่ิมบรรทัดนี้เข้าไปใน ~/.zshrc
if which rbenv > /dev/null; then eval "$(rbenv init -)"; fi
เสร็จละ สรุปแล้ว ~/.zshrc
ของเราที่เพิ่มเข้าไปหน้าตาก็จะเป็นประมาณนี้
# Initialize rbenv
export PATH="$HOME/.rbenv/bin:$PATH"
if which rbenv > /dev/null; then eval "$(rbenv init -)"; fi
จริงๆ แล้วมันก็ไม่ได้ยากเล้ย แต่ทำไมไม่เห็นมี docs ที่เขียนไว้อย่างชัดเจนเป็นขั้นเป็นตอนเลย ต้องมาหวังพึ่งบล็อกของคุณ Robert Anderson ซะงั้น หรือคนอื่นเค้าไม่ได้ใช้ Ruby กับ gem
กันแบบนี้ หรือติดตั้งแล้วไม่มีปัญหาแบบเรากันนะ ใครเคยเจอแบบไหนใช้ท่าง่ายกว่ายากกว่ายังไงก็มาแชร์กันหน่อยนะครับ จบดีกว่า ไปละ